วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

พ.ร.บ



ความเป็นมาของการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในประเทศไทย

เพื่อให้ประเทศมีโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายรองรับสังคมสารสนเทศ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญของการดำรงอยู่ของสังคมในศตวรรษที่ ๒๑ ใน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้มีการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น 6 ฉบับ โดย ๓ ฉบับแรก เป็นกฎหมายที่ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในเชิงสร้างสรรค์ อันเอื้อต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ส่วนกฎหมายในลำดับที่ ๔ และลำดับ ๕ เป็นกฎหมายที่จะใช้เป็นมาตรการในการคุ้มครองหรือปกป้องสังคมจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในเชิงไม่สร้างสรรค์ และฉบับสุดท้ายเป็นกฎหมายฉบับที่จะสร้างกลไกเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคมสารสนเทศ โดยกฎหมายดังกล่าวปรากฏตามรายการ ดังต่อไปนี้

1.กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๕ และมีการตั้ง คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นเพื่อดำเนินการต่างๆต่างพระราชบัญญัตินี้(อ่าน ตัวพรบ.นี้ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔

2.กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับผลทางกฎหมายของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ได้มีการจัดทำแยกเป็นอีกหนึ่งฉบับ เพราะได้มีการรวมหลักการไว้กับกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๕

3.กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีการจัดทำขึ้นเพื่อรองรับการโอนเงินและการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เดิมจะพัฒนาเป็นกฎหมายลำดับพระราชบัญญัติ แต่หลังจากที่มีการดำเนินงานของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว คณะกรรมการฯได้จัดทำเป็นกฎหมายลำดับรองภายใต้มาตรา ๓๒ ของกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แทน เรียกว่าร่างพระราชกฤษฎีกากำกับดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้คล่องตัวและเร็วขึ้นกว่าการทำเป็นพระราชบัญญัติ ขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้รับหลักการและมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป

4.กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อผ่านการรับหลักการของคณะรัฐมนตรี และเข้าสู่การพิจารณาโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา (นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน)แล้ว ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ .เนื่องจากคณะกรรมการเห็นว่า การกระทำบางลักษณะไม่น่าจะเป็น “อาชญากรรม Crime)”) ร่างกฎหมายนี้ เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปเมื่อวันที่ ๑๕ พ.ย. ๒๕๔๙ ขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่าง พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (อ่านตัวร่าง พ.ร.บ. นี้ ร่าง พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ผ่าน สคก.แล้ว)

5.ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้จัดทำขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว โดยมุ่งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่อาจมีการละเมิดและสามารถนำไปใช้ในทางมิชอบได้โดยง่าย (ในการทำธุรกรรมทางออนไลน์หรือการใช้อินเทอร์เน็ต) ทั้งนี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ให้ความเห็นชอบให้สนง.ปลัดนายกรัฐมนตรี (โดยสนง.ข้อมูลข่าวสารของราชการ) ทำหน้าที่รวมร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวเข้ากับร่างกฎหมายที่จัดทำโดยสขร. โดยยังคงยืนยันให้มีการจัดตั้งสำนักงานที่จะดูแลการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ภายใต้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

6.ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ได้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาโครงสร้างพี้นฐานสารสนเทศ และให้ประชาชนเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน อันจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ตามเจตนารมณ์มาตรา ๗๘ ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ หลังคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วเสร็จ ได้มีการส่งมอบเรื่องให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารดำเนินการต่อไป หลังปรับปรุงระบบราชการ และไม่ได้มีการยืนยันร่างกฎหมายเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ร่างกฎหมาย
ตกไป


ความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่ทุกคนควรทราบ มีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 18ก.ค.50


1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขาแล้วเราแอบเข้าไปดู…
เจอคุก 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเค้า แล้วบอกให้คนอื่นรู้ …
เจอคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดีๆ แล้วแอบไปล้วงข้อมูลของเขาออกมา
เจอคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
4. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตัว แล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา … เจอคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขา เราดันมือบอนแก้
เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. ระบบคอมพิวเตอร์ของเค้าทำงานอยู่ดีๆ เราดันยิง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan หรือ worm หรืออะไรก็ตามเข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง
เจอคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
7. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเลย เราก็ทำตัวเซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ … เจอปรับไม่เกิน100,000 บาท
8. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้ว
- ทำให้เราๆ ท่านๆ บุคคลทั่วไปเกิดความเสียหาย
จำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000บาท
- ก่อความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ
จำคุกตั้งแต่ 3 - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000บาท ถึง 300,000บาท และถ้าทำให้ใครตายก็จะปรับโทษเป็น ... จำคุกตั้งแต่ 10ปีถึง 20ปี

สามารถดาวโหลดไฟล์ได้ที่นี่ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

...